วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๙๙ ผู้บริโภคให้อุดหนุนสินค้าของตน การแข่งขันทางธุรกิจที่สาคัญคือการแข่งขันด้านการขายและ การบริการ โดยผู้ผลิตทั้งหลายพยายามคิดค้นนวัตกรรมเพื่อจูงใจผู้บริโภค ๒.๔.๑ การแข่งขันด้านการขาย มีทั้งการแข่งขันระหว่างบริษัทผู้ผลิต สินค้า ดังเช่น บรรษัทเจเนอรัล อิเล็กทริก (General Electric Corporation) กับบรรษัท เวสติงเฮาส์ (Westinghouse Corporation) ซึ่งต่างเป็นยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมผลิต หลอดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือการแข่งขันในการค้าปลีก ห้างสรรพสินค้าจานวนมากใน สหรัฐอเมริกาต่างคิดค้นกลยุทธ์ให้มีการต่อรองราคาในการขายสินค้ากับลูกค้า แต่ห้าง มาร์แชลฟีลด์ (Marshall Field) กลับใช้กลยุทธ์ขายสินค้าราคายุติธรรมตามป้ายราคาโดยไม่ มีการต่อรอง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าอย่างรวดเร็วจนทาให้ห้างสรรพสินค้าอื่น ๆ ยึดตามแบบในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ยังนิยมใช้วิธีการลดราคา สินค้าเพื่อล้างสต็อกในราคาต่ากว่าปกติมากซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมและสามารถ จาหน่ายสินค้าได้หมดอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการริเริ่มจาหน่ายสินค้าราคาถูกทั้งร้าน เช่น “Five and Ten Cents Store” ของห้างวูลเวิร์ท (Woolworth) ซึ่งได้รับความนิยมมาก กระทั่ง สามารถขยายสาขาไปตามเมืองต่าง ๆ ได้หลายสาขา ๒.๔.๒ การแข่งขันด้านบริการ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ธุรกิจ ต่าง ๆ ได้ริเริ่มการขายแบบให้บริการ เช่น การขายของทางไปรษณีย์ที่เริ่มโดยบริษัทมอนต์โก เมอรีวอร์ด (Montgomery Ward And Company) มีรายการสินค้าเสนอขายถึง ๑๐,๐๐๐ รายการ ส่วนธุรกิจบริการอื่น ๆ เช่น ธุรกิจประกันภัยก็มีการแข่งขันอย่างดุเดือด โดยพนักงาน ขายประกันใช้วิธีลดเบี้ยประกันให้กับลูกค้า ด้วยการหักค่าคอมมิชชั่นของตนเพื่อขยายฐานของ ลูกค้า ทั้งนี้ธุรกิจต่าง ๆ พากันใช้สื่อโฆษณาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้า หรือทาให้ขาย สินค้าและบริการได้จานวนมากซึ่งเป็นวิธีที่ประสบความสาเร็จ เพราะการโฆษณาชวนเชื่อ สามารถจูงใจผู้บริโภคได้มาก อีกทั้งยังส่งผลให้การผลิตและการดาเนินธุรกิจขยายตัว
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=