วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๙๘ พัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าวมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ แต่ไม่มีใครสามารถพัฒนาเพื่อผลิตเป็น สินค้าได้สาเร็จ ต่อมาไซรัส ฮอลล์ แม็กคอร์มิก (Cyrus Hall McCormick) ชาวมลรัฐเวอร์จิเนีย สามารถพัฒนาเครื่องเกี่ยวข้าวในเชิงอุตสาหกรรมได้สาเร็จ ใน ค.ศ. ๑๘๔๗ เขาได้ตั้งโรงงานผลิต เครื่องเกี่ยวข้าวที่เมืองชิคาโก และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เห็นได้ว่าใน ค.ศ. ๑๘๖๐ โรงงานของแม็กคอร์มิกสามารถขายเครื่องเกี่ยวข้าวได้ถึง ๘๐,๐๐๐ เครื่อง โดยเฉพาะในช่วง สงครามกลางเมืองอเมริกัน (American Civil War, ค.ศ.๑๘๖๑-๑๘๖๕) เมื่อชายฉกรรจ์ใน ภาคเหนือส่วนใหญ่ถูกเกณฑ์ไปรบและสตรีต้องรับภาระในภาคเกษตรกรรม ทาให้เครื่องเกี่ยวข้าว ของแม็คคอร์มิกขายได้มากถึง ๒๕๐,๐๐๐ เครื่อง (Pual S. Boyer and Others, 1995, pp. 228- 229.) กล่าวได้ว่า เครื่องเกี่ยวข้าวดังกล่าวมีส่วนช่วยสนับสนุนไม่ให้เศรษฐกิจของฝ่ายสหภาพหรือ ฝ่ายเหนือได้รับผลกระทบมากนัก เพราะสามารถดาเนินการผลิตได้ตลอดช่วงสงคราม ซึ่งเป็นข้อ ได้เปรียบประการหนึ่งของฝ่ายเหนือ (Travis Brown, 2000, pp. 154-156) แม็กคอร์มิกได้ปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีของเครื่องเกี่ยวข้าวให้ก้าวหน้า ต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการใช้เครื่องจักรกลแทนการใช้แรงงานสัตว์เลี้ยง เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิต เครื่องเกี่ยวข้าวในขณะนั้นมีคู่แข่งจานวนมากและเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะได้รับความนิยมอย่าง มากจากนักบุกเบิกและผู้อพยพไปจับจองดินแดนตะวันตกที่กว้างใหญ่ไพศาล นอกจากนี้ อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเกี่ยวข้าวยังส่งเสริมให้นักประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาเครื่องมือเพื่อ การเกษตรอื่น ๆ อีกมาก เช่น เครื่องไถนา เครื่องหว่านเมล็ดข้าว เครื่องสีข้าว นับว่าเครื่องเกี่ยว ข้าวเป็นปัจจัยสาคัญที่ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรของภาคตะวันตกที่ส่งไปขายยังภาคตะวันออก และต่างประเทศในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ๒.๓.๒ รั้วลวดหนาม เป็นนวัตกรรมที โจเซฟ ฟาร์ เวลล์ กลิดเดน (Joseph Farwell Glidden) เกษตรกรชาวมลรัฐนิวแฮมเชียร์พัฒนาขึ้นจากตัวอย่างรั้ว ลวดหนามที่มีผู้จดสิทธิบัตรไว้หลายรายแต่ไม่สามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้เพราะต้นทุนสูง ต่อมากลิดเดนสามารถพัฒนาเครื่องจักรที่สามารถบิดลวดหนามให้ติดแน่นกับเส้นลวดเป็น เส้นลวดหนามได้จานวนมากซึ่งทาให้ต้นทุนการผลิตต่า และสามารถจดสิทธิบัตรเครื่องจักร และลวดหนามได้ใน ค.ศ. ๑๘๗๔ หลังจากนั้นเขาได้ร่วมกับหุ้นส่วนตั้งโรงงานผลิตลวดหนาม ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเกษตรกรในภาคตะวันตกใช้ลวดหนามทารั้วล้อม ที่ดินและไร่ปศุสัตว์ ส่งผลให้ยุคของการเลี้ยววัวและต้อนสัตว์ในทุ่งกว้างสิ้นสุดลง ๒.๔ นวัตกรรมด้านการขายและการบริการ การขยายตัวของอุตสาหกรรมซึ่งเกิดจาการพัฒนาเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ ๆ ส่งผลให้มีการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่หลากหลายจานวนมาก ทาให้เกิดกา รแข่งขัน ทางธุรกิจทั้งในระดับผู้ผลิตและผู้จาหน่ายสินค้าจานวนหลายพันบริษัท ซึ่งต้องการจูงใจ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=