วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๙๕ ผู้สอนวิชาสรีรวิทยาการเปล่งเสียง (Vocal Physiology) ที่มหาวิทยาลัยบอสตัน จึงสนใจประดิษฐ์เครื่อง สื่อสารทางโทรเลขด้วยเสียง ใน ค.ศ. ๑๘๗๖ เบลล์และผู้ช่วยชื่อ ทอมัส เอ. วัตสัน (Thomas A. Watson) ประสบความสาเร็จในการทดลองพูดผ่านเครื่องรับโทรศัพท์ หลังจากนั้นเบลล์และหุ้นส่วนได้ ก่อตั้งบริษัทที่พัฒนาระบบและให้บริการการสื่อสารทางโทรศัพท์ ต่อมาบริษัทของเบลล์ได้ขยายกิจการ และเปลี่ยนชื่อ กระทั่งใน ค.ศ. ๑๘๙๙ ได้กลายเป็นบริษัทอเมริกันเทเลโฟนแอนด์เทเลกราฟ (American Telephone and Telegraph) หรือที่รู้จักกันว่าบริษัท AT&T ซึ่งเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกใน คริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ โดยเป็นเจ้าของโทรศัพท์ ๑๘๒ ล้านเลขหมาย มีการติดตั้งสายเคเบิลโทรศัพท์ยาว มากกว่า ๑,๐๐ ล้านไมล์ และมีการจ้างงานเกือบ ๑ ล้านคน ก่อนที่จะเลิกกิจการเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๑๙๘๔ (Travis Brown, 2000, pp. 180-181) ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์ช่วยเปิดโลกของการสื่อสารให้ผู้คนในสังคมและต่างสังคม ได้ติดต่อสัมพันธ์กันโดยสะดวก และเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวอเมริกันและชาว โลกในเวลาต่อมา ระบบโทรศัพท์ช่วยให้ระบบธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็วและคล่องตัวเพราะนักธุรกิจสามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ทันที และทาให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่น ๆ ตามมา เช่น การผลิต สายโทรศัพท์และเครื่องรับโทรศัพท์ รวมทั้งการจ้างงานภาคบริการจานวนมากทั่วโลก ที่สาคัญ ยัง ทาให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมระบบสื่อสารใหม่ ๆ อย่างไม่หยุดยั้งจนถึงปัจจุบัน ๒. การพัฒนาอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ โดยเฉพาะตั้งแต่หลังสงครามกลางเมือง สหรัฐอเมริกา มีความก้าวหน้าในการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างมาก นอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนา อุตสาหกรรม เช่น ทรัพยากร การสร้างเส้นทางรถไฟ ระบบแข่งขันเสรี แรงงานจานวนมหาศาล ตลาดใน ประเทศและต่างประเทศ ฯลฯ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ก็สนับสนุนให้เกิดการพัฒนา อุตสาหกรรมหลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมน้ามัน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและชีวิตประจาวัน และอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร ๒.๑ อุตสาหกรรมน้ามัน อุตสาหกรรมน้ามันในสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นหลังจากเอดวิน ลอเรนทีน เดรก (Edwin Laurentine Drake) ชาวนิวยอร์กคิดหาวิธีขุดเจาะเอาน้ามันปิโตรเลียม บริสุทธิ์จากใต้ดินขึ้นมาได้เป็นผลสาเร็จใน ค.ศ. ๑๘๕๙ ก่อนหน้านั้นมีผู้พยายามขุดเจาะน้ามัน บริสุทธิ์มาก่อน แต่ไม่ประสบความสาเร็จ อุตสาหกรรมน้ามันเติบโตอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดการ พัฒนาอุตสาหกรรมประเภทอื่นอย่างกว้างขวาง ต่อมาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้หันไปใช้น้ามัน ปิโตรเลียม ทาให้น้ามันกลายเป็นเชื้อเพลิงสาคัญและเข้ามาแทนที่ถ่านหินอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยัง ช่วยให้นายทุนเจ้าของอุตสาหกรรมน้ามันร่ารวยอย่างรวดเร็วด้วย ในระยะแรกเจ้าของอุตสาหกรรม น้ามันส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบกิจการรถไฟ ซึ่งผูกขาดการขนส่งน้ามันดิบและน้ามันสาเร็จรูป รวมทั้ง เป็นผู้ใช้น้ามันรายใหญ่สาหรับธุรกิจของตน บริษัทเหล่านี้มีโรงกลั่นน้ามันในเขตที่ตั้งของตน เช่น ที่ เมืองพิตสเบิร์ก บอลทิมอร์ และนครนิวยอร์ก ต่อมาบริษัทน้ามันสแตนดาร์ดออยล์ (Standard Oil

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=