วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๙๔ หินเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนเครื่องจักรไอน้า การเติบโตของอุตสาหกรรมหลักทั้ง ๒ ประเภทนี้ ก่อให้เกิดการจ้างงานและกระตุ้นให้เกิดการผลิตสินค้าอื่น ๆ จานวนมาก ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการ ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมหนักอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมถลุงแร่ธาตุต่าง ๆ นอกจากนี้ รถไฟยัง กระตุ้นให้มีการผลิตสินค้าและผลิตผลทางการเกษตรจานวนมาก เพราะรถไฟสามารถส่งไปถึง ผู้บริโภคที่อยู่ห่างไกลนับพันไมล์ได้ เช่น การขนส่งข้าวสาลีจากภาคตะวันตกเฉียงเหนือไปยังโรงสีข้าว ที่เมืองมินนีแอโพลิส เพื่อแปรรูปเป็นแป้งสาลีออกจาหน่ายทั่วประเทศ หรือการขนส่งปศุสัตว์ไป ชาแหละที่เมืองซินซินแนติ แล้วส่งไปยังโรงงานผลิตเนื้อกระป๋องและโรงงานอุตสาหกรรมแช่แข็งที่ นครชิคาโก ก่อนส่งไปขายทั่วประเทศและทั่วโลก ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ยกย่องว่ารถไฟเป็นปัจจัยสาคัญใน การพลิกโฉมเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ๑.๒ โทรเลข เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นโดย แซมวล เอฟ. บี. มอร์ส (Samuel F. B. Morse) ศิลปินและนักวิทยาศาสตร์สมัครเล่นชาวมลรัฐแมสซาชูเซตส์ เขาคิดประดิษฐ์การรับส่งโทร เลขจากการศึกษาระบบพลังงานของแม่เหล็กไฟฟ้า และได้รับการจดสิทธิบัตรใน ค.ศ. ๑๘๔๐ ต่อมา มอร์สได้ทดลองส่งโทรเลขด้วยรหัสมอร์สได้เป็นผลสาเร็จใน ค.ศ. ๑๘๔๔ และได้ก่อตั้งบริษัทแมก เนติกเทเลกราฟ (Magnetic Telegraph Company) ซึ่งดาเนินการวางสายโทรเลขและให้บริการการ รับ-ส่งโทรเลข หลังจากนั้น มอร์สได้อนุญาตให้นักลงทุนขยายกิจการโทรเลขในนามบริษัทเวสเทิร์น ยูเนียน (Western Union Company) ซึ่งได้วางสายโทรเลขข้ามทวีปไปยังดินแดนตะวันตกด้วยความ ยาว ๗๖,๐๐๐ ไมล์ หรือ ๑๒๑,๖๐๐ กิโลเมตร (Travis Brown, 2000. pp. 176-178) โทรเลขเป็นความสาเร็จของการพัฒนานวัตกรรมระบบสื่อสารในสหรัฐอเมริกาเป็น ครั้งแรก เดิมในช่วงต้นทศวรรษ ๑๘๔๐ การสื่อสารระหว่างเมืองต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกาต้องใช้ เวลานาน เช่น การขนส่งหนังสือพิมพ์จากนครนิวยอร์กไปถึงเมืองอินดีแอนาต้องใช้เวลานาน ๑๐ วัน หากขนส่งหนังสือพิมพ์ทางเรือจากนิวยอร์กไปเมืองแซนแฟนซิสโกต้องใช้เวลานานถึง ๓ เดือน แต่ระบบโทรเลขช่วยให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลกันสามารถสื่อสารข้อมูลถึงกันได้ทันที ในช่วงแรก การส่งโทร เลขในสหรัฐอเมริกาแพร่หลายเฉพาะในแวดวงธุรกิจและวงการหนังสือพิมพ์มากกว่าการใช้โทรเลข ด้วยเรื่องส่วนตัว แต่เมื่อถึงสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ความนิยมใช้โทรเลขได้แพร่หลายมาก ใน สหรัฐอเมริกามีสายโทรเลขรวมประมาณ ๑ ล้านไมล์ หรือ ๑,๖๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร และมีผู้ส่งโทร เลขปีละประมาณ ๖๓ ล้านข้อความ ทั้งนี้ยังไม่รวมสายเคเบิลใต้น้าที่ติดต่อสื่อสารระหว่าง สหรัฐอเมริกากับทวีปเอเชียและอเมริกาใต้ (James West Davidson, and others. 2007. p. 543.) นอกจากนี้โทรเลขยังเป็นนวัตกรรมที่มีผู้คนทั่วโลกนาไปใช้ติดต่อสื่อสารในประเทศต่าง ๆ จนถึงสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ๑.๓ โทรศัพท์ เป็นนวัตกรรมระบบสื่อสารที่ได้รับยกย่องว่าเป็นการปฏิวัติระบบสื่อสาร ครั้งที่ ๒ ต่อจากการพัฒนาระบบโทรเลขของมอร์ส ผู้พัฒนาคือ อะเล็กซานเดอร์ เกรแอม เบลล์ (Alexander Graham Bell) นักประดิษฐ์ชาวสก๊อตที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา เขาเป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=