วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๙๓ เพราะรถไฟแต่ละขบวนสามารถเพิ่มตู้ที่มีจานวนและขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งยังไม่ต้องจ้างพนักงานเบรก ประจาแต่ละตู้ด้วย ด้วยประสิทธิภาพของเบรกลมที่ช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร ทา ให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเสนอให้รัฐสภาสหรัฐอเมริกาผ่านรัฐบัญญัติอุปกรณ์ความปลอดภัยของ รถไฟ (Railroad Safety Appliance Act) ค.ศ. ๑๘๙๓ ซึ่งทาให้รถไฟทุกขบวนต้องใช้ระบบเบรก ลมและมีอุปกรณ์เชื่อมต่อตู้โดยสารรถไฟ (coupling) ที่ได้มาตรฐาน ๑.๑.๒ การใช้เหล็กกล้าสร้างรางรถไฟ เหล็กกล้าเป็นนวัตกรรมที่วิลเลียม เคลลี (William Kelly) ขอจดสิทธิบัตรใน ค.ศ. ๑๘๕๗ หลังจากนั้นเขาจึงเริ่มพัฒนาเป็น อุตสาหกรรม ต่อมาอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าได้เติบโตอย่างรวดเร็วและมีการลงทุนโดยนัก ลงทุนหลายราย ที่สาคัญคือ แอนดรูว์ คาร์เนกี (Andrew Carnegie) ผู้ก่อตั้งบริษัทคาร์เนกีสตีล (Carnegie Steel Company) ซึ่งผลิตเหล็กกล้าได้มากถึง ๑ ใน ๔ ของเหล็กกล้าที่ผลิตได้ใน สหรัฐอเมริกาเมื่อสิ้นคริสต์ศตรรษที่ ๑๙ เหล็กกล้าเป็นเทคโนโลยีสาคัญสาหรับอุตสาหกรรมรถไฟ ที่นาเหล็กกล้ามาใช้แทนรางเหล็กแบบเดิมซึ่งมักเป็นสนิมและสึกกร่อนง่าย เพราะเหล็กกล้ามีความ ทนทานและสามารถรับน้าหนักขบวนรถไฟที่มีหลายตู้และบรรทุกน้าหนักจานวนมากได้ ทาให้ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบารุงรักษารางรถไฟได้มาก ดังนั้นผู้ประกอบการรถไฟทั้งหลายจึง เปลี่ยนไปใช้รางเหล็กกล้าเกือบทั้งหมด การเติบโตของอุตสาหกรรมเหล็กกล้าส่งผลให้เกิด อุตสาหกรรมอื่น ๆ ตามมา เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมถ่านหิน อุตสาหกรรม ประดิษฐ์เครื่องจักรกลต่าง ๆ และการสร้างตึกระฟ้า รวมทั้งเกิดการจ้างงานจานวนมาก ๑.๑.๓ ตู้นอนของรถไฟแบบพูลล์แมน (Pullman Sleeping Cars) เป็น นวัตกรรมที่สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมรถไฟสหรัฐอเมริกาในครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ เดิมการเดินทางโดยสารรถไฟของสหรัฐอเมริกาในช่วงแรก ๆ ไม่มีความสะดวกสบาย โดยเฉพาะการ เดินทางที่ต้องค้างคืนบนรถไฟ ใน ค.ศ. ๑๘๖๔ จอร์จ พูลล์แมน (George Pullman) ริเริ่มสร้างตู้ นอนสาหรับรถไฟเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารที่เดินทางไกล โดยก่อตั้งบริษัทพูลล์แมนแพเลซคาร์ (Pullman Palace Car Company) ซึ่งผลิตตู้นอนรถไฟที่มีทั้งเตียงบนและเตียงล่าง ที่นั่งในตู้ โดยสารเป็นแบบเก้าอี้นวมปรับพนักเอนหรือทาเป็นเตียงนอนได้ นอกจากนี้ พูลล์แมนยังสร้างตู้ เสบียงสาหรับบริการผู้โดยสารด้วย นับเป็นการสร้างมาตรฐานการเดินทางแบบใหม่ที่สะดวกสบาย และเพลิดเพลิน จึงมีการสร้างตู้นอนในขบวนรถไฟสายต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เพราะได้รับความนิยม จากผู้ใช้บริการอย่างมาก กระทั่งมีชาวฝรั่งเศสเขียนเล่าเชิงล้อเลียนว่า ชาวอเมริกันรักรถไฟ “เหมือนชู้รักรักภรรยาลับของเขา” (Paul S. Boyer and Others, 1995, p. 230.) โดยสรุป การเติบโตของอุตสาหกรรมรถไฟได้ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สืบเนื่องกับอุตสาหกรรมรถไฟโดยตรงคือ อุตสาหกรรมเหล็กกล้าและการทาเหมืองถ่านหิน ก่อน ค.ศ. ๑๙๐๐ บริษัทรถไฟทั้งหลายใช้เหล็กกล้าประมาณร้อยละ ๙๐ ของที่ผลิตได้ในประเทศ นอกจากนี้การเติบโตของธุรกิจรถไฟยังส่งผลให้มีการทาเหมืองถ่านหินแพร่หลาย เพราะรถไฟใช้ถ่าน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=