วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๙๐ แต่ไม่สามารถต่ออายุสิทธิบัตรได้อีก ถึงกระนั้น ค่าธรรมเนียมการจดสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกาก็ นับว่าถูกมากเมื่อเปรียบเทียบกับค่าธรรมเนียมการจดสิทธิบัตรของประเทศยุโรปอื่น ๆ ในเวลานั้น (ค.ศ.๑๘๖๙) เช่น ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซียซึ่งคิดค่าธรรมเนียมสิทธิบัตรเท่ากันคือครั้งละ ๔๕๐ ดอลลาร์สหรัฐ ประเทศเบลเยียมครั้งละ ๔๒๐ ดอลลาร์สหรัฐ และประเทศออสเตรียครั้งละ ๓๕๐ ดอลลาร์ ทั้งนี้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการแสวงหาผลกาไรจากการเก็บค่าธรรมเนียมการจด สิทธิบัตร เพียงแค่ให้มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายการบริหารงานของสานักงานสิทธิบัตรเท่านั้น (B. Zorina Khan, 2002, p. 18) นโยบายดังกล่าวเปิดกว้างและส่งเสริมให้ประชาชนทุกชนชั้นทุกอาชีพ สามารถคิดค้นพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น และทา ให้สังคมอเมริกันได้ ประโยชน์จากการนาองค์ความรู้เหล่านั้นไปพัฒนาต่อ ๒. อุดมการณ์เสรีนิยม สังคมอเมริกันเปิดกว้างให้ประชาชนทุกคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานใน “โลกใหม่” มีโอกาสและเสรีภาพในการสร้างฐานะและความมั่งคั่งให้กับตนเอง ชาวอเมริกันที่ตั้ง ถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยอาณานิคมซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายอังกฤษและได้รับอิทธิพลจากแนวคิด เศรษฐกิจเสรีและทุนนิยมจากเมืองแม่ต่างยินดีทางานหนักเพื่อความอยู่รอด และได้ปลูกฝังให้ อุดมการณ์เสรีนิยมกลายเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมที่สาคัญของสังคมอเมริกัน ดังนั้นเมื่อได้รับ การสนับสนุนจากรัฐบาลให้คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม ชาวอเมริกันจึงให้ความสนใจอย่างมาก เพราะเห็นว่าความสาเร็จจากการคิดค้นนวัตกรรมและการเป็นเจ้าของสิทธิบัตรของสิ่งประดิษฐ์เป็น โอกาสทางเศรษฐกิจที่สาคัญ ตั้งแต่กลางทศวรรษ ๑๘๔๐ ชาวอเมริกันต่างตื่นตัวและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม ใหม่ ๆ สินค้าที่ผลิตจากสิ่งประดิษฐ์ที่ได้จดสิทธิบัตรแล้วได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่าง แพร่หลาย เช่น จักรเย็บผ้า เสื้อผ้าสาเร็จรูป ทาให้นักประดิษฐ์เกิดกาลังใจ และมีผู้ยื่นขอจด สิทธิบัตรเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีหนังสือพิมพ์และวารสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและแนะนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรแล้ว นับเป็นการเผยแพร่ความรู้ให้ ประชาชนทั่วไปสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง วารสารที่มีชื่อเสียงและยังพิมพ์เผยแพร่จนถึง ปัจจุบันคือ Scientific American ซึ่งก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. ๑๘๔๕ และได้รับความนิยมแพร่หลายในกลาง คริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ วารสารฉบับนี้มีส่วนสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักประดิษฐ์ใหม่ซึ่งส่วนใหญ่ ได้รับการศึกษาไม่สูงมากนัก ที่สาคัญ เมื่อนักประดิษฐ์เหล่านั้นสามารถพัฒนานวัตกรรมของตนได้ ผลสาเร็จก็มีช่องทางอานวยความสะดวกให้สามารถยื่นขอจดสิทธิบัตรได้โดยง่าย เพราะมีสานักงาน เอกชนและสานักงานทนายความจานวนมากให้บริการรับปรึกษาแนะนาแก่นักประดิษฐ์หรือผู้ สร้างสรรค์นวัตกรรมตามเมืองต่าง ๆ เกี่ยวกับขั้นตอนการขอจดสิทธิบัตร รวมทั้งยังอานวยความ สะดวกให้บริการซื้อขายสิทธิบัตรแก่นักลงทุนที่ต้องการนาผลงานที่ได้รับสิทธิบัตรแล้วไปผลิตเป็น สินค้าอุตสาหกรรม หรือให้คาแนะนาแก่เจ้าของสิทธิบัตรเกี่ยวกับวิธีการและการหาแหล่งทุนหาก ต้องการลงทุนผลิตสินค้าด้วยตนเอง (B. Zorina Khan and Kenneth L. Sokoloff, 2004, p. 13)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=