ชื่อ รองศาสตราจารย์ดารณี อุทัยรัตนกิจ

วัน เดือน ปี เกิด วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๓

ภาคีสมาชิก แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ทางวิทยวิธี

ประเภทวิชาศึกษาศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

- กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย (พ.ศ. ๒๕๕๖–ปัจจุบัน)

ประวัติการศึกษา

- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (มัธยมศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๕)

- ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการศึกษาและแนะแนว) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๒๑)

- ปริญญาเอก Doctor of Philosophy (School Psychology) Texas Woman’s University, USA. (พ.ศ. ๒๕๓๐)

- ประกาศนียบัตร Post Doctoral Training (Teacher Preparation in Special Education) University of Northern Colorado, USA พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ. ๒๐๐๒)

ประวัติการทำงานวิชาการ

- ประธานโครงการ (พ.ศ. ๒๕๕๖–๒๕๕๘) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษประจำโครงการ (พ.ศ. ๒๕๕๘–ปัจจุบัน) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

- คณะกรรมการคัดสรรผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๖๑)

ประวัติการทำงานวิชาชีพ - กรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา, รองประธาน คนที่ ๑ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา : สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. ๒๕๖๐–๒๕๖๒)

- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาการ ในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา : คณะรัฐมนตรี (พ.ศ. ๒๕๖๑–ปัจจุบัน)

- รองโฆษกคนที่ ๒ ประจำคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ. การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๑ : สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๒)

ประวัติการทำงานบริหาร

- อาจารย์ใหญ่ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๙–๒๕๕๓)

- ประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการการศึกษานานาชาติ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๖๒–ปัจจุบัน)

ผลงานวิชาการ

- โครงการวิจัย “การพัฒนารูปแบบการให้ความช่วยเหลือทางการศึกษานักเรียนที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม แบบองค์รวม” และแผนงานวิจัย “การบ่งชี้ คัดกรอง วินิจฉัย และให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม (ได้รับทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒ และ ๒๕๕๕ ตามลำดับ)

- ที่ปรึกษาโครงการวิจัย “การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเรียนรวมสำหรับเด็กพิการและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ” (ได้รับทุนจากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑)

ผลงานวิชาชีพ

ผู้ทรงคุณวุฒิกลั่นกรองบทความวิจัยและบทความวิชาการ ดังนี้ วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วารสารวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล, วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, วารสารราชพฤกษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ความเชี่ยวชาญ

จิตวิทยาโรงเรียน การศึกษาพิเศษ การเรียนรวม

เกียรติคุณที่ได้รับ

- รางวัลงานวิจัยแห่งชาติทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ตามประกาศสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๔

- รางวัลเกียรติยศ ประเภทบุคลากรที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนเด็กออทิสติก จากมูลนิธิคุณพุ่มตามประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๕

- รางวัลผลงานวิจัยที่สร้างผลกระทบระดับสูง SILVER ปี ๒๕๕๘ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๖๐

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- ประถมาภรณชางเผือก (ป.ช.) พ.ศ. ๒๕๕๔

- ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.) พ.ศ. ๒๕๕๑