ศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา (ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์)

สำนัก :ธรรมศาสตร์และการเมือง
ประเภทวิชา :สังคมศาสตร์
สาขาวิชา :ศึกษาศาสตร์
ที่อยู่ :๑๑๖๖ ซอย ๑๐๑/๑ หลังซอยวัดทุ่งสาธิต ถนนสุขุมวิท เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐
คุณวุฒิ:
อักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา
ประกาศนียบัตรชั้นสูงทางการบริหารการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา
ตำแหน่ง:
อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๔๙๑
คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๐๐
ประธานกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย
กรรมการสภาการศึกษาแห่งชาติ
นายกสมาคมสตรีอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยคนแรก, ๒๔๙๑
เกียรติคุณ:
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคมด้านการศึกษา จากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
ได้รับพระราชทานโล่รางวัลมหิดลวรานุสรณ์ ในฐานะเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์แก่การศึกษาของชาติอย่างสูงยิ่ง จากกระทรวงศึกษาธิการ
ได้รับประกาศเกียรติคุณเป็นปูชนียาจารย์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานสำคัญ:
ก่อตั้งคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อผลิตครูและผู้บริหารชั้นนำในวงวิชาชีพ ครู ปรับปรุงและพัฒนาสาขาวิชาใหม่ ๆ ที่อยู่ในหลักสูตรการฝึกหัดครูมาโดยตลอด บางแผนกวิชาที่ได้พัฒนาหลักสูตรขึ้นได้ขยายมาเป็นคณะวิชาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภายหลัง เช่น แผนกวิชาพลศึกษาเป็นสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา แผนกวิชาจิตวิทยาเป็นคณะจิตวิทยา แผนกวิชาพยาบาลศึกษา เป็นคณะพยาบาลศาสตร์ - ริเริ่มใช้ระบบหน่วยกิต และจัดให้มีอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นคณะแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - ริเริ่มนำการสัมมนามาใช้ในการเรียนการสอน ได้แนะนำอาจารย์ในด้านการเตรียมงานการจัดประเด็นสัมมนา การสังเกตพฤติกรรม การแสดงความคิดเห็น ความสมดุลระหว่างการมีส่วนร่วมกับการทำรายงานสรุปของนิสิต เพื่อให้ อาจารย์สามารถวัดและประเมินผลได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ต่อมาวิชาสัมมนาเป็นที่รู้จักและใช้กันแพร่หลายในระดับอุดมศึกษา
ริเริ่มตั้งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นแหล่งสังเกตฝึกสอนหรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพค้นคว้าวิจัยความรู้ใหม่ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
เป็นผู้นำทางสาขาวิชาศึกษาศาสตร์และได้พัฒนาบัณฑิตวิชาชีพครูมานานกว่า ๕๐ ปี
เป็นประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทยมากว่า ๑๐ ปี และคณะกรรมการชุดนี้ได้เสนอให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ และให้มีการสอบวิชาภาษาไทยในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นผลสำเร็จ ภารกิจนี้ตรงกับงานของราชบัณฑิตยสถาน ดังจะเห็นได้จากการที่ราชบัณฑิตยสถานได้จัดกิจกรรมทางวิชาการในวันภาษาไทยแห่งชาติ และจัดทำเกณฑ์มาตรฐานสมิทธิภาพทางภาษาไทย
ผลงานเขียนทางจิตวิทยาการศึกษา จำนวน ๑๑ เรื่อง
ความเชี่ยวชาญ: