ศาสตราจารย์อดิศักดิ์ ทองบุญ (ราชบัณฑิต)

สำนัก :  ธรรมศาสตร์และการเมือง

ประเภทวิชา : ปรัชญา

สาขาวิชา : อภิปรัชญาและญาณวิทยา

ที่อยู่ : ๑๓/๓ ซอย ๒๓ ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ๑๐๙๐๐

คุณวุฒิ:

ป.ธ. ๗ (เปรียญธรรม ๗ ประโยค)

พ.ม. (ประกาศนียบัตรครูพิเศษมัธยม สมัครส่วนกลาง)

พธ.บ. (พุทธศาสตรบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

M.A. (ศาสนาและปรัชญาอินเดีย) มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย

ตำแหน่ง:

กรรมการวิชาการของราชบัณฑิตยสถาน

อาจารย์พิเศษและผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์พุทธศาสน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เกียรติคุณ:

ได้รับพระราชทานรางวัลในการประกวดหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก รวม ๕ ครั้ง เป็นรางวัลชั้นที่ ๑ จำนวน ๔ ครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓, ๒๕๑๔, ๒๕๑๕, ๒๕๑๗ และเป็นรางวัลชั้นที่ ๒ จำนวน ๑ ครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙

ได้รับโล่เกียรติยศจากสมาคมนักเรียนเก่าอินเดีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖

ได้รับประกาศยกย่องจากสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒ ครั้ง คือได้รับเกียรติบัตรในฐานะศิษย์เก่าแห่งปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ และเกียรติบัตรในฐานะศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐

ได้รับเข็มเกียรติคุณจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒

ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักรและเกียรติบัตรในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ด้านการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖

ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์พุทธศาสน์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔ - ปัจจุบัน

ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชาปรัชญา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ (ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗)

ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นประถมาภรณ์ช้างเผือก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐

ผลงานสำคัญ:

หนังสือพระพุทธศาสนาแก่เด็กที่ได้รับพระราชทานรางวัลชั้นที่ ๑ รวม ๔ เรื่อง คือ การสงเคราะห์บุตร (๒๕๑๓) การสงเคราะห์ภริยา (๒๕๑๔) การงานไม่อากูล (๒๕๑๕) และธรรมจริยา การประพฤติธรรม (๒๕๑๗)

ปรัชญาอินเดียร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ ๓, ๒๕๔๕)

ปรัชญาอินเดีย (พิมพ์ครั้งที่ ๓, ๒๕๔๖)

คู่มืออภิปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ ๔, ๒๕๔๖)

วิเคราะห์อภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา (๒๕๔๗)

บาปแค่ไหนก็ไม่ขวางทางนิพพาน : คำสารภาพของพระเทวทัตและองคุลิมาล (๒๕๕๑)

ความเชี่ยวชาญ:

ศาสนา ปรัชญา ภาษาไทย ภาษาบาลี โลกทรรศน์ และภูมิปัญญาไทย